หน้าแรก เกี่ยวกับสถาบัน บริการบำบัดรักษายาเสพติด ติดต่อเรา

สถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี (สบยช.)


การคำนวณต้นทุนผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยในต่อรายของการรักษาผู้ป่วยยาเสพติด พิมพ์
Wednesday, 28 July 2010
ชื่อเรื่อง    การคำนวณต้นทุนผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยในต่อรายของการรักษาผู้ป่วยยาเสพติดของสถาบันธัญญารักษ์
หน่วยงาน    สถาบันธัญญารักษ์ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข
ปีงบประมาณ    2546

บทคัดย่อ

    การศึกษาครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์อยู่ 2 ประการคือ ประการแรกเพื่อศึกษาองค์ประกอบของต้นทุนทุกประเภทของผู้ป่วยยาเสพติด และประการที่สองเพื่อวิเคราะห์ต้นทุนเฉลี่ยต่อคนที่เป็นจริงของผู้ป่วยยาเสพติดประเภทผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยในที่เข้ามารับการบำบัดที่สถาบันธัญญารักษ์ โดยมีขอบเขตของการศึกษาในช่วงปีงบประมาณ 2545 เนื่องจากเป็นปีที่ข้อมูลมีความสมบูรณ์มากที่สุดอีกทั้งยังเป็นปีปกติอยู่ที่จำนวนผู้ป่วยยาเสพติดยังมิได้ปรับลดลงอันเป็นผลมาจากมาตรการการปราบปรามยาเสพติดของรัฐบาล และจำแนกผู้ป่วยยาเสพติดออกเป็น 9 ประเภทด้วยกัน นอกจากนี้การจำแนกประเภทต้นทุนนั้นเป็นการคิดจากต้นทุนที่ทางสถาบันฯ ได้มีการจ่ายจริงเพื่อการรักษาผู้ป่วยยาเสพติดเท่านั้น โดยจำแนกประเภทต้นทุนออกเป็น 5 ประเภทด้วยกัน คือต้นทุนครุภัณฑ์ ต้นทุนวัสดุภัณฑ์ ต้นทุนน้ำประปา ต้นทุนไฟฟ้าและต้นทุนค่าตอบแทนบุคลากรสำหรับผลการศึกษาพบว่าผู้ป่วยนอก (OPD) ประเภทยาเสพติดนั้นมีต้นทุนทั้ง 5 รายการในรอบปีงบประมาณ 2545 ดังนี้ ต้นทุนครุภัณฑ์มีค่าเท่ากับ 1,505,943.72 บาท ซึ่งคิดเป็นต่อรายผู้ป่วยนอกประเภทยาเสพติดเท่ากับ 3.5 บาท ต้นทุนน้ำประปาของทั้งสถาบันฯ มีค่าเท่ากับ 4,892,097.09 บาท ซึ่งคิดเป็นต่อรายผู้ป่วยนอกประเภทยาเสพติดเท่ากับ 123.7 บาท ต้นทุนค่าไฟฟ้าของสถาบันฯ ที่ใช้เฉพาะการรักษาผู้ป่วยนอกเท่ากับ 182,903.3 บาท ดังนั้นต้นทุนไฟฟ้าต่อรายเท่ากับ 5.7 บาท ต้นทุนค่าตอบแทนบุคลากรรวมของการรักษาผู้ป่วยนอกเท่ากับ 5,403,560.0 บาท ซึ่งคิดเป็นต่อรายผู้ป่วยนอกประเภทยาเสพติดเท่ากับ 169.1 บาท ดังนั้นต้นทุนต่อรายผู้ป่วยนอกประเภทยาเสพติดของสถาบันธัญญารักษ์มีค่าเท่ากับ 349.1 บาท โดยมีต้นทุนค่าตอบแทนคิดเป็นสัดส่วนสูงสุดคิดเป็นร้อยละ 48.4 ถัดมาคือต้นทุนน้ำประปาคิดเป็นร้อยละ 35.4 ถัดมาคือต้นทุนครุภัณฑ์คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 13.5 ที่เหลือคือต้นทุนไฟฟ้าร้อยละ 1.6 และต้นทุนวัสดุภัณฑ์คิดเป็นสัดส่วนต่ำที่สุดเพียงร้อยละ 1.0 เท่านั้นตามลำดับ
    สำหรับผลการศึกษาพบว่าผู้ป่วยใน (IPD) ประเภทยาเสพติดนั้นมีต้นทุนทั้ง 5 รายการในรอบปีงบประมาณ 2545 ดังนี้ ต้นทุนครุภัณฑ์มีค่าเท่ากับ 744,695.28 บาท โดยคิดเป็นต่อรายผู้ป่วยในประเภทยาเสพติดเท่ากับ 128.2 บาท ต้นทุนวัสดุภัณฑ์มีค่าเท่ากับ 9,245,917.48 บาท โดยคิดเป็นต่อรายผู้ป่วยในประเภทยาเสพติดเท่ากับ 1,574.4 บาท ต้นทุนน้ำประปาต่อรายผู้ป่วยในประเภทยาเสพติดเท่ากับ 123.7 บาท ต้นทุนค่าไฟฟ้าของสถาบันฯ ที่ใช้เฉพาะการรักษาผู้ป่วยในเท่ากับ 533,327.73 บาท ดังนั้นต้นทุนไฟฟ้าต่อรายเท่ากับ 91.4 บาท ต้นทุนค่าตอบแทนบุคลากรรวมของการรักษาผู้ป่วยในเท่ากับ 50,553,560.0 บาท โดยคิดเป็นต่อรายผู้ป่วยในประเภทยาเสพติดเท่ากับ 8,592 บาท ดังนั้นในรอบปีงบประมาณ 2545 ต้นทุนต่อรายผู้ป่วยในประเภทยาเสพติดของสถาบันธัญญารักษ์มีค่าเท่ากับ 10,509.2 บาท โดยมีต้นทุนน้ำประปาและต้นทุนครุภัณฑ์คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 1.2 เท่ากัน ส่วนต้นทุนไฟฟ้ามีค่าต่ำสุดคิดเป็นร้อยละ 0.9 เท่านั้น
    ดังนั้นนัยสำคัญทางนโยบายจากการศึกษาในครั้งนี้ คือ ต้องมีนโยบายประหยัดการใช้ไฟฟ้าและน้ำประปา นอกจากนี้ควรมีการเกลี่ยบุคลากรให้สามารถผลิตผลงานในเชิงวิชาการมากขึ้นนอกเหนือจากการรักษาพยาบาล
แก้ไขล่าสุดเมื่อ ( Monday, 11 April 2011 )
< ก่อนหน้า   ถัดไป >