หน้าแรก เกี่ยวกับสถาบัน บริการบำบัดรักษายาเสพติด ติดต่อเรา

สถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี (สบยช.)


การศึกษาสัมพันธภาพระหว่างผู้ดูแลกับผู้ป่วยเสพติดเฮโรอีน พิมพ์
Friday, 23 July 2010
ชื่อเรื่อง        การศึกษาสัมพันธภาพระหว่างผู้ดูแลกับผู้ป่วยเสพติดเฮโรอีนที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลที่เป็นสถานบำบัดรักษายาเสพติด และการติดซ้ำจากการให้คำปรึกษาแบบประสานสัมพันธ์
ชื่อผู้วิจัย      นางสาวเสริมสุข        ราษฎร์ดุษฎี
                 นางดุษณีย์        ชาญปรีชา
                 นางนวลลออ        พงศ์อำไพ
หน่วยงาน    กลุ่มงานการพยาบาล สถาบันธัญญารักษ์ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข
ปีงบประมาณ    2543

บทคัดย่อ

    การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง (Experimental Research) แบบ one – group Pretest Posttest Design โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสัมพันธภาพระหว่างผู้ดูแลกับผู้ป่วยเสพติดเฮโรอีนที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลที่เป็นสถานบำบัดรักษายาเสพติดที่ได้รับการให้คำปรึกษาแบบประสานสัมพันธ์ และศึกษาการติดซ้ำของผู้ป่วยเสพติดเฮโรอีนที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลที่เป็นสถานบำบัดรักษายาเสพติดที่ได้รับการให้คำปรึกษาประสานสัมพันธ์การทดลองครั้งนี้ ใช้โปรแกรมการให้การปรึกษาแบบประสานสัมพันธ์ ซึ่งผู้วิจัยสร้างขึ้นเองโดยใช้แนวคิดจากทฤษฎีการให้คำปรึกษาแบบกลุ่มที่ยึดผู้ใช้บริการเป็นศูนย์กลางเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยวิธีเฉพาะเจาะจง ได้กลุ่มตัวอย่าง ซึ่งเป็นผู้ป่วยเสพติดเฮโรอีน จำนวน 18 ราย เมื่อให้โปรแกรมครบ ได้ทำการรวบรวมข้อมูลโดยวัดสัมพันธภาพระหว่างผู้ดูแลกับผู้ป่วยเสพติดเฮโรอีน พบว่าค่าเฉลี่ยคะแนนสัมพันธภาพของผู้ดูแลกับผู้ป่วยเสพติดเฮโรอีนหลังได้รับคำปรึกษาแบบประสานสัมพันธ์สูงกว่าก่อนได้รับการให้คำปรึกษา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนในด้านติดตามการติดซ้ำของผู้ป่วยเสพติดเฮโรอีนที่เข้าร่วมโครงการ พบว่าภายใน 1 เดือนหลังจากผู้ป่วยได้รับการให้คำปรึกษาแบบประสานสัมพันธ์และครบกำหนดการรักษาระยะถอนพิษยากลับไปอยู่ในครอบครัวแล้ว มีการกลับไปติดซ้ำเพียงร้อยละ 16.67 เท่านั้น
แก้ไขล่าสุดเมื่อ ( Monday, 11 April 2011 )
< ก่อนหน้า   ถัดไป >