หน้าแรก เกี่ยวกับสถาบัน บริการบำบัดรักษายาเสพติด ติดต่อเรา

สถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี (สบยช.)


ความตระหนักในตนเองต่อการป้องกันการเสพยาบ้า พิมพ์
Friday, 23 July 2010

เรื่อง    การศึกษาความตระหนักในตนเองต่อการป้องกันการเสพยาบ้าของผู้ป่วยยาเสพติดในการเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่มทักษะชีวิตที่เข้ารับการบำบัดรักษาในโรงพยาบาลธัญญารักษ์ จังหวัดปทุมธานี
ผู้วิจัย    นางศิริรัตน์    ชูชีพ
ปี    2543

บทคัดย่อ
    การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความตระหนักในตนเองต่อการป้องกันการเสพยาบ้าของผู้ป่วยยาเสพติดในการเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่มทักษะชีวิตที่เข้ารับการบำบัดรักษาในโรงพยาบาลธัญญารักษ์จังหวัดปทุมธานี ก่อนเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่มทักษะชีวิตเพื่อเปรียบเทียบความตระหนักในตนเองต่อการป้องกันการเสพยาบ้าและหลังเข้ากิจกรรมกลุ่มทักษะชีวิต กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยยาเสพติด ที่เข้ารับการบำบัดรักษา ระยะถอนพิษยาที่ตึงจูงใจ 1 และจูงใจ 2 โรงพยาบาลธัญญารักษ์ ในช่วงเดือนสิงหาคม – กันยายน 2543 ที่เข้าร่วมกิจกรรมกลุ่มทักษะชีวิต กลุ่มตัวอย่างจำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้มี 2 ชุด ชุดที่ 1 เป็นแบบสอบถาม ที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล แบ่งเป็น 2 ตอนคือ สอบถามข้อมูลทั่วไปและแบบสอบถามความตระหนักในตนเองต่อการป้องกันการเสพยาบ้า 5 ด้าน คือ ด้านความตระหนักต่อโทษพิษภัยยาเสพติด ด้านสำรวจตัวเอง ด้านข้อดี – ข้อด้วยของตนเอง ด้านการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นและด้านการควบคุมพฤติกรรมตนเองต่อการป้องกันการเสพยาบ้า โดยแบบสอบถาม ตอนที่ 2 มีค่าสัมประสิทธิ์ความเชื่อมั่นที่ .05 ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเอง ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงวุฒิ วิธีการดำเนินการวิจัย คือ One group Pretest Posttest design ซึ่งการศึกษามีการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติทดสอบไคสแควร์ และ t-test dependent

ผลการวิจัยพบว่า
    1.  ผู้ป่วยยาเสพติดที่เข้าร่วมกิจกรรมกลุ่มทักษะชีวิตเป็นเพศชายทั้งหมด มีอายุระหว่าง 14 – 25 ปี จบการศึกษาระดับประกาศนียบัตรชั้นสูง ปี 1 ระยะเวลาที่เข้ารับการรักษา 30 วัน จำนวนครั้งที่เข้ารับการบำบัดรักษา 3 ครั้ง
    2.  ความตระหนักในตนเองต่อการป้องกันการเสพยาบ้า ก่อนและหลัง การเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่มทักษะชีวิตพบว่า ความตระหนักต่อโทษพิษภัยยาเสพติด ด้านการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นและการควบคุมพฤติกรรมตนเองในการป้องกันการเสพยาบ้า มีความแตกต่างอย่างในนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนความตระหนักในตนเองด้านข้อดี – ข้อด้วยของตนเอง และด้านสำรวจตนเองไม่มีความแตกต่างอย่ามีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05

แก้ไขล่าสุดเมื่อ ( Monday, 11 April 2011 )
< ก่อนหน้า   ถัดไป >